กุ๊ก กุ๊ก กรู๋ว… ฮาโลวีน (Halloween) เทศกาลที่น่าสนุกและตื่นเต้นสำหรับเด็ก ๆ ใกล้เข้ามาถึงแล้วนะคะ นอกจากการเล่น Trick or Treat และการจัดงานปาร์ตี้แล้ว อีกกิจกรรมที่เข้ากับเทศกาลฮาโลวีน และน่าสนใจไม่แพ้กัน คือ การเล่านิทานเกี่ยวกับภูตผี สิ่งลี้ลับค่ะ จากที่พี่อันนาได้หาข้อมูลมา พบว่าที่จริงแล้ว การฟังเรื่องที่มีความน่ากลัวนิด ๆ ก็มีส่วนช่วยในพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็ก ๆ เช่นกันนะคะ การเล่าเรื่องผี อาจจะฟังดูน่ากลัวใช่ไหมคะ แต่ถ้ามี โรงละครจำลอง น่ารัก ๆ กับ หุ่นละครที่เด็ก ๆ ทำร่วมกับครอบครัว เรื่องน่ากลัวก็สามารถกลายเป็นเรื่องน่าสนุกได้ วันนี้พี่อันนาจะมาชวนทำงานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ เป็นสื่อเล่านิทาน ในรูปแบบ โรงละครกระดาษ ต้อนรับเทศกาลฮาโลวีนกันค่ะ

โรงละครกระดาษ ต้อนรับฮาโลวีน

อุปกรณ์สำหรับทำโรงละครกระดาษ

อุปกรณ์สำหรับทำโรงละครกระดาษ
อุปกรณ์สำหรับทำ โรงละครกระดาษ
  • 1 กล่องพัสดุหรือกล่องกระดาษที่มีในบ้าน
  • 2 ไม้บรรทัด
  • 3 ดินสอ
  • 4 คัตเตอร์
  • 5 พู่กัน
  • 6 สีอะคริลิค
  • 7 จานสี

ขั้นตอนการทำ

1. เปิดกล่องด้านใดด้านหนึ่งออกแล้วคว่ำลง จากนั้นใช้คัตเตอร์ตัดฝากล่องทั้งสี่ด้าน เพื่อทำเป็นด้านหลังของโรงละคร (กล่องที่พี่อันนาใช้เป็นกล่องขนาด 24 x 37 เซนติเมตร และสูง 14 เซนติเมตรค่ะ)

คว่ำกล่องกระดาษลง
เปิดกล่องแล้วคว่ำลง
ตัดฝากล่องทั้งสี่ด้านออก
ตัดฝากล่องทั้งสี่ด้านออก

2. จากนั้นวัดด้านที่เป็นความกว้างของกล่องเข้ามาด้านละ 3.5 เซนติเมตร และวัดด้านที่เป็นความยาว เข้ามาด้านละ 1.5 เซนติเมตร แล้วใช้คัตเตอร์เจาะ เพื่อใช้เป็นหน้าฉากของโรงละคร

วัดขอบแต่ละด้านเข้ามา
วัดขอบแต่ละด้านเข้ามา
ตัดส่วนที่วัดออกเพื่อทำเป็นหน้าฉาก
ตัดส่วนที่วัดออกเพื่อทำเป็นหน้าฉาก

3. พลิกกล่องด้านข้างขึ้นมา (เลือกจากด้านที่เราวัดความยาวจากข้อที่แล้วนะคะ) จากนั้นใช้ไม้บรรทัดวัดเข้ามาด้านละ 3.5 เซนติเมตร แล้วใช้คัตเตอร์เจาะ เพื่อทำเป็นช่องสำหรับใส่หุ่นละคร

วัดกล่องเข้ามาด้านละ 3.5 เซนติเมตร
วัดกล่องเข้ามาด้านละ 3.5 เซนติเมตร
เจาะกล่องสำหรับใส่หุ่นละคร
เจาะกล่องสำหรับใส่หุ่นละคร

4. ระบายสีอะคริลิคให้ทั่วกล่อง แล้วตกแต่งโรงละครกระดาษตามจินตนาการ

น้องแอลล์กับพี่ออยกำลังช่วยกันระบายสีให้ทั่วกล่องโรงละคร
น้องแอลล์กับพี่ออยกำลังช่วยกันระบายสีให้ทั่วกล่อง
ตกแต่งด้านหน้าโรงละครด้วยต้นไม้และศาลตายาย
ตกแต่งด้านหน้าโรงละครด้วยต้นไม้และศาลตายาย

ผู้ปกครองและเด็ก ๆ สามารถวาดรูปเพิ่มเติม เช่น ต้นไม้ สุสาน หรือ ศาลตายาย แล้วนำมาใช้ตกแต่ง เพื่อเพิ่มบรรยากาศให้กับ โรงละครกระดาษ ได้นะคะ หลังจากที่ทำ โรงละครกระดาษ เสร็จแล้ว ก็ถึงเวลาของเหล่าหุ่นละครภูตผีที่จะมาทำการแสดงแล้วค่ะ

อุปกรณ์สำหรับทำหุ่นละคร

อุปกรณ์การทำหุ่นละคร
อุปกรณ์การทำหุ่นละคร
  • 1 Pattern ตัวการ์ตูนฮาโลวีน
  • 2 กรรไกร
  • 3 สีไม้ Master Art หรือ สีชนิดอื่นที่เด็ก ๆ ถนัด
  • 4 เทปใส
  • 5 เทปกาวสองหน้า
  • 6 ก้านลูกโป่ง (หรือ วัสดุอื่นที่หาได้ในบ้าน เช่น ตะเกียบ หรือ ดินสอที่ไม่ใช้แล้ว)

ขั้นตอนการทำ

1. ดาวน์โหลด Pattern ตัวการ์ตูนฮาโลวีน แล้วปริ๊นต์ลงบนกระดาษร้อยปอนด์ (สามารถดาวน์โหลด Pattern ตัวการ์ตูนฮาโลวีน ได้ที่ด้านล่างของบทความค่ะ) จากนั้นระบายสีให้สวยงาม หากไม่มีกระดาษร้อยปอนด์ สามารถปริ๊นต์ลงบนกระดาษธรรมดาแล้วติดบนกระดาษแข็งอีกที เพื่อเพิ่มความแข็งแรง หรือจะให้เด็ก ๆ วาดตัวละครตามจินตนาการก็สนุกไปอีกแบบค่ะ

สำหรับเด็กเล็ก 2-3 ขวบ แนะนำเป็นสีเทียนแท่งใหญ่ ๆ ที่เด็กสามารถใช้มือกำได้ เพราะเด็กวัยนี้ยังไม่คุ้นกับการจับแท่งดินสอ ถ้าเป็นเด็กที่อายุ 6 ขวบขึ้นไป การระบายสีไม้ก็เหมาะกับการฝึกน้ำหนักมือ และไล่สีเข้มอ่อนได้ดีนะคะ
น้องแอลล์กำลังระบายสีตัวละครอย่างตั้งใจ
น้องแอลล์กำลังใช้สีไม้ ระบายตัวละครอย่างตั้งใจ
น้องแอลล์กำลังระบายสีผีตานี
ผีตานีมาแล้ว

2. จากนั้นใช้กรรไกรตัดตามรอยประรอบ ๆ ตัวการ์ตูน

ใช้กรรไกรตัดตามรอยประรอบตัวการ์ตูน
ใช้กรรไกรตัดตามรอยประรอบตัวการ์ตูน
เหล่าภูติผีที่ระบายสี และ ตัดออกมาแล้ว
เหล่าภูติผีที่ระบายสี และ ตัดออกมาแล้ว

3. นำก้านลูกโป่งมาติดที่ด้านหลังของตัวการ์ตูน ด้วยเทปใสและเทปกาวสองหน้า จากนั้นนำตัวการ์ตูนอีกตัวที่เหมือนกัน มาประกบติดให้เรียบร้อย

ติดก้านลูกโป่งกับตัวการ์ตูนด้วยเทปใสและเทปกาวสองหน้า
ติดก้านลูกโป่งกับตัวการ์ตูนด้วยเทปใสและเทปกาวสองหน้า
>นำตัวการ์ตูนที่เหมือนกันมาประกบติด
นำตัวการ์ตูนที่เหมือนกันมาประกบติด
หุ่นละครผีไทยพร้อม
หุ่นละครผีไทยพร้อม
หุ่นละครผีนานาชาติพร้อม
หุ่นละครผีนานาชาติพร้อม
ผู้ปกครองสามารถนำกระดาษลังแผ่นใหญ่ ๆ มาทำเป็นฉากสำหรับเปลี่ยนระหว่างเล่าเรื่องได้ค่ะ นอกจากจะเพิ่มความสนุกในการเล่านิทานแล้ว ยังสามารถใช้โอกาสนี้สอนเด็ก ๆ เรื่องความแตกต่างของกลางวัน-กลางคืน หรือ เรื่องที่สอดคล้องกับฉากที่ใช้เปลี่ยนได้อีกด้วย
โรงละครกระดาษและหุ่นละครภูตผี พร้อมจัดการแสดงแล้วค่ะ
โรงละครกระดาษและหุ่นละครภูตผี พร้อมจัดการแสดงแล้วค่ะ

เท่านี้ก็จะได้ โรงละครกระดาษ เป็น สื่อเล่านิทาน สนุก ๆ ร่วมกับเด็ก ๆ ในเทศกาลฮาโลวีนแล้วค่ะ ในครั้งแรกผู้ปกครองอาจจะเล่านิทานให้เด็กฟังก่อน หากเด็กมีไอเดียที่อยากเสริมในนิทาน ก็สามารถให้เด็กร่วมเล่าด้วยได้ค่ะ อาจจะสลับกันเป็นคนควบคุมตัวละคร และคนเล่าเรื่อง หรือ ต่างคนต่างเล่นบทบาทสมมติเป็นตัวละครที่เลือกก็ได้ค่ะ

น้องแอลล์เล่าเรื่องสยองขวัญให้พี่ออยฟัง
น้องแอลล์เล่าเรื่องสยองขวัญให้พี่ออยฟัง
น้องแอลล์ขอสลับฉาก เพื่อเพิ่มความน่ากลัวหน่อยนะ
น้องแอลล์ขอสลับฉาก เพื่อเพิ่มความน่ากลัวหน่อยนะ
น่ากลัวขึ้นมั้ย……พี่ออย
น่ากลัวขึ้นมั้ย……พี่ออย

การฟังเรื่องผี สิ่งลี้ลับที่มีความน่ากลัวนิด ๆ นั้น นอกจากจะเป็นสิ่งที่สนุกตื่นเต้นสำหรับเด็ก ๆ และ ให้ข้อคิดแล้ว จากที่พี่อันนาไปหาข้อมูลมายังพบว่า ประโยชน์ของการฟังเรื่องผี สำหรับเด็ก คือ ช่วยให้เด็กรู้จักรับมือกับอารมณ์ด้านลบ (ความกลัว ความเสียใจ) โดยที่ไม่ต้องเสี่ยงเจอกับสถานการณ์จริงที่เลวร้าย สามารถแยกแยะระหว่างความจริง กับ สิ่งที่เป็นเรื่องแต่งได้ ได้เรียนรู้ว่า ความกลัวไม่ใช่สิ่งเลวร้าย และ เรียนรู้ที่จะยืดหยุ่นและยืนหยัดในสถานการณ์ตึงเครียดต่าง ๆ ที่อาจเจอได้ในอนาคตค่ะ เรียกได้ว่าเป็นอีกกิจกรรมทำเล่น ที่มีส่วนช่วยส่งเสริม EQ หรือ พัฒนาการด้านอารมณ์ รูปแบบหนึ่งเลยก็ว่าได้

ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้ปกครองต้องทราบขอบเขตความกลัวที่เด็กรับได้ เพราะถ้าเล่าเรื่องที่น่ากลัวมาก ๆ ก็จะไม่เป็นผลดีกับ พัฒนาการด้านอารมณ์ ของเด็ก ค่ะ การเล่าควรจะเป็นการเล่าเพื่อความสนุก มากกว่าเล่าเพื่อขู่ หรือ ทำให้เด็กกลัว และ ควรจะเล่าในตอนที่เด็กอยากฟังค่ะ ซึ่งใน เทศกาลฮาโลวีน แบบนี้ก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ลองเล่าเรื่องผีสนุก ๆ ร่วมกับ เด็ก ๆ ค่ะ เพราะนอกจากจะช่วยส่งเสริม พัฒนาการด้านอารมณ์แล้ว การเล่าเรื่อง ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร ให้เด็กกล้าคิด กล้าพูด กล้าที่จะบอกเล่าสิ่งต่าง ๆ มากขึ้นด้วยค่ะ ถ้าผู้ปกครองอยากให้กิจกรรมวันฮาโลวีนสนุกยิ่งขึ้น ก็สามารถ ตกแต่งห้องสไตล์ฮาโลวีน หรืออาจจะลอง ประดิษฐ์ หน้ากากแฟนซี แต่งตัวเป็นภูตผี เพื่อเพิ่มบรรยากาศให้กับการเล่นโรงละครก็ได้ค่ะ ฮาโลวีน นี้ อย่าลืมไปลองทำ โรงละครกระดาษ ดูนะคะ รับรองว่าจะเพิ่มสีสันให้กับคืนวันปล่อยผี ได้อย่างแน่นอน

ดาวน์โหลด
1 รายการ