คุณพ่อคุณแม่ยังจำการเย็บปักถักร้อยแบบต่าง ๆ ของวิชางานฝีมือที่เคยเรียนกันเมื่อตอนเด็ก ๆ ได้มั้ยคะ? วันนี้ผู้เขียนจะประยุกต์สิ่งเหล่านี้ให้กลายมาเป็น กิจกรรมร้อยเชือก ตัวการ์ตูนรูปสัตว์น่ารัก ๆ สำหรับเด็ก ๆ กันค่ะ ซึ่งการร้อยเชือกจะใช้เทคนิคเดียวกับการเย็บผ้าเลย แต่จะง่ายกว่ามาก ๆ เด็กอายุ 3-6 ขวบก็สามารถทำได้ค่ะ

กิจกรรมร้อยเชือกรูปสัตว์
กิจกรรมร้อยเชือกรูปสัตว์

อุปกรณ์

อุปกรณ์การทำกิจกรรมร้อยเชือกรูปสัตว์
อุปกรณ์การทำกิจกรรมร้อยเชือกรูปสัตว์
  • 1Pattern กิจกรรมร้อยเชือก รูปสัตว์
  • 2กระดาษเทา - ขาว ความหนา 350 แกรม
  • 3เข็มพลาสติก
  • 4ไหมพรมสีต่าง ๆ
  • 5สีไม้
  • 6กาว
  • 7กรรไกร
  • 8ที่เจาะตาไก่แบบตอก
  • 9ค้อนยาง

วิธีการทำ

1. ดาวน์โหลด Pattern กิจกรรมร้อยเชือก รูปสัตว์ แล้วปริ้นลงบนกระดาษการ์ด (สามารถดาวน์โหลด Pattern กิจกรรมร้อยเชือก รูปสัตว์ ได้ที่ด้านล่างของบทความค่ะ)

ปริ้น Pattern รูปสัตว์ ลงบนกระดาษการ์ด
ปริ้น Pattern รูปสัตว์ ลงบนกระดาษการ์ด

2. ระบายสี Pattern ตัวการ์ตูนรูปสัตว์ให้สวยงาม

เด็กและผู้ปกครองกำลังระบายสี Pattern ตัวการ์ตูน
เด็กและผู้ปกครองกำลังระบายสี Pattern ตัวการ์ตูนอย่างตั้งใจ
ระบายสีภาพกวางตามจินตนาการ
ระบายสีภาพกวางตามจินตนาการ

3. เมื่อระบายสีเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้กรรไกรตัดกระดาษตามรอยประรอบ ๆ ตัวการ์ตูน จากนั้นพลิกกระดาษอีกด้านทากาวให้ทั่วแล้วแปะลงบนกระดาษเทา - ขาว เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับตัวการ์ตูนค่ะ (หากไม่มีกระดาษเทา - ขาว สามารถใช้กระดาษแข็งหรือกระดาษลังแทนได้)

เด็กอายุ 3-4 ปี แนะนำให้ตัดชิ้นส่วนที่เป็นชิ้นใหญ่ค่ะ เพราะรายละเอียดไม่เยอะ เด็กสามารถตัดตามได้และกรรไกรที่ใช้ควรเป็นกรรไกรสำหรับเด็กโดยเฉพาะจะดีกว่าค่ะ ส่วนเด็กอายุ 5-6 ปี ที่กล้ามเนื้อมือแข็งแรงดีแล้ว สามารถตัดตามรอยประได้เลย แต่เพื่อความปลอดภัยคุณพ่อคุณแม่ควรคอยดูแลและช่วยเหลือเวลาเด็กตัดกระดาษค่ะ
ใช้กรรไกรตัดกระดาษตัดตามรอยประ
ใช้กรรไกรตัดกระดาษการ์ดตามรอยประ
เด็กกำลังทากาวด้านหลังกระดาษ
ทากาวด้านหลังของตัวการ์ตูนให้ทั่ว
ติดตัวการ์ตูนลงบนกระดาษเทา - ขาว
ติดตัวการ์ตูนลงบนกระดาษเทา - ขาว ให้เรียบร้อย

4. จากนั้นให้คุณพ่อคุณแม่ตัดกระดาษตามรูปทรงของตัวการ์ตูน ขั้นตอนนี้ไม่แนะนำให้เด็กทำนะคะ เพราะกระดาษค่อนข้างแข็ง ทำให้ตัดยากและอาจเกิดอุบัติเหตุได้ แต่ถ้าเกิดเด็กอยากทำเอง แนะนำให้คุณแม่วาดกรอบใหญ่ ๆ รอบตัวการ์ตูนและให้เด็กตัดแล้วคุณแม่ค่อยมาเล็มเก็บความเรียบร้อยอีกก็ได้ค่ะ

ตัดกระดาษเทา - ขาว ตามรูปทรงของตัวการ์ตูน
ตัดกระดาษแข็งตามรูปทรงของตัวการ์ตูน

5. ใช้ที่เจาะตาไก่แบบตอก (ตู๊ดตู่) และค้อนยาง เจาะรูตรงวงกลมสีดำด้านในของตัวการ์ตูนทั้งหมด (หากไม่มีที่เจาะตาไก่แบบตอกคุณพ่อคุณแม่สามารถใช้ ไขควงแฉก หรือตะปูคอนกรีต ขนาด 3 นิ้ว แทนได้เหมือนกันค่ะ แต่ตามความคิดเห็นของผู้เขียนไขควงแฉกจะเจาะง่ายกว่า)

เด็กและผู้ปกครองกำลังเจาะรู ด้วยที่เจาะตาไก่แบบตอก
เด็กและผู้ปกครองกำลังเจาะรูอย่างตั้งใจ
6. ร้อยไหมพรมเข้ากับเข็มพลาสติก ใช้กรรไกรตัดไหมพรมให้มีความยาวพอประมาณ ดึงให้ปลายทั้งสองฝั่งยาวเท่ากันแล้วผูกปมให้เรียบร้อย จากนั้นใช้เทปใสติดปมของไหมพรมไว้ที่ด้านหลังของตัวการ์ตูน
เด็กและผู้ปกครองช่วยกันร้อยไหมพรมเข้ากับเข็มพลาสติก
เด็กและผู้ปกครองช่วยกันร้อยไหมพรมเข้ากับเข็ม
ติดเทปใสกับไหมบริเวณด้านหลังของตัวการ์ตูน
ติดเทปใสกับไหมบริเวณด้านหลังของตัวการ์ตูน

7. นำไหมพรมมาร้อยเข้ากับรูที่เจาะไว้ ผู้เขียนแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่นั่งอยู่ด้านหลังและหันหน้าไปทางเดียวกับเด็กนะคะ เวลาที่สอนหรือให้คำแนะนำในการร้อยเชือก เด็กจะได้ไม่สับสนในเรื่องของทิศทางและด้านซ้ายด้านขวาค่ะ

สำหรับเด็กเล็กที่เพิ่งหัดร้อยใหม่ ๆ แนะนำให้เริ่มจากการร้อยเชือกด้วยรูปทรงง่าย ๆ หรือปล่อยให้เด็ก ๆ ร้อยเชือกอย่างอิสระตามที่ตัวเองต้องการ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องไปบังคับเด็กนะคะ ว่าจะต้องร้อยขึ้น-ร้อยลง เรียงตามช่องหรือตามลายของรูป เด็กจะได้สนุกไปกับการเรียนรู้ค่ะ ส่วนเด็กโตคุณพ่อคุณแม่สามารถเพิ่มความยากในการร้อยได้ด้วยการกำหนดรูปแบบให้กับเด็กหรือจะร้อยตามแบบตัวอย่างที่อยู่บนกระดาษ Pattern ก็ได้ค่ะ
ร้อยไหมพรมเข้ากับรูของตัวการ์ตูนให้เรียบร้อย
ร้อยไหมพรมเข้ากับรูของตัวการ์ตูนให้เรียบร้อย
การใช้คำพูดที่จำได้ง่ายในการสอนเด็กร้อยเชือก อย่างเช่น จุดนี้สอดเข็มลงแล้วดึง จุดนี้สอดเข็มขึ้นแล้วดึง ก็จะช่วยให้เด็ก ๆ สามารถจดจำขั้นตอนได้เร็วมากขึ้นค่ะ
เด็กและผู้ปกครองช่วยกันร้อยเชือกเข้ากับรูตัวการ์ตูน
เด็กและผู้ปกครองกำลังร้อยเชือกเข้ากับรูตัวการ์ตูน
กิจกรรมร้อยเชือกตัวการ์ตูน น่ารัก ๆ เสร็จแล้วค่ะ
กิจกรรมร้อยเชือกตัวการ์ตูน น่ารัก ๆ เสร็จแล้วค่ะ

กิจกรรมร้อยเชือกนอกจากจะช่วยฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก ซึ่งเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมพื้นฐานในด้านการเขียนของเด็กแล้ว ยังช่วยฝึกสมาธิ ฝึกการประสานสัมพันธ์ของมือกับตาให้ทำงานได้อย่างคล่องแคล่วอีกด้วย และที่สำคัญคุณครูยังสามารถนำไปประยุกต์ทำเป็นสื่อการสอนแบบ มอนเตสซอรี่ ในเรื่องของหน่วยประสบการณ์ชีวิตไว้สอนเด็กในห้องเรียนได้นะคะ

ดาวน์โหลด
1 รายการ