จากบทความ แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่องเวลา สำหรับเด็กปฐมวัย ผู้เขียนได้กล่าวถึงการปูพื้นฐานการเรียนรู้เรื่องเวลาให้กับเด็ก ผ่านกิจวัตรประจำวันควบคู่ไปกับการดูนาฬิกาอะนาล็อค เพื่อให้เด็ก ๆ เข้าใจความแตกต่างช่วงเวลากลางวัน-กลางคืน สามารถเชื่อมโยงเรื่องเวลาของกิจกรรมในแต่ละวันของตัวเองได้ พร้อมทั้งวิธีการสอนเด็กนับตัวเลขต่าง ๆ ที่อยู่บนหน้าปัดนาฬิกากันไปแล้วนั้น วันนี้ผู้เขียนมีกิจกรรมงานประดิษฐ์ “นาฬิกาบอกเวลา” จากจานกระดาษ ที่จะช่วยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูและการอ่านเวลาจากนาฬิกาให้กับเด็ก ๆ ผ่านสื่อที่เป็นรูปธรรม ซึ่งคุณครู ผู้ปกครองสามารถจัดเตรียมอุปกรณ์ตามนี้ได้เลยค่ะ

กิจกรรมนาฬิกาบอกเวลา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องเวลา สำหรับเด็ก
กิจกรรมนาฬิกาบอกเวลา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องเวลา สำหรับเด็ก

วัสดุอุปกรณ์

อุปกรณ์การทำนาฬิกาจากจานกระดาษ
อุปกรณ์การทำนาฬิกาจากจานกระดาษ
  • 1จานกระดาษ ขนาด 9x9 นิ้ว
  • 2กระดาษการ์ดขนาด A4
  • 3สีอะคริลิค
  • 4พู่กัน
  • 5หมุดทองเหลือง ขนาด 1.5 เซนติเมตร (หรือตาไก่สีเงินแบบตอก)
  • 6กาวลาเท็กซ์
  • 7กรรไกร
  • 8เครื่องเจาะตาไก่
  • 9ที่เจาะตาไก่แบบตอก
  • 10ค้อนพลาสติก (หรือค้อนยาง)

ขั้นตอนการทำนาฬิกา

1. ให้คุณครู ผู้ปกครองนำนาฬิกาอะนาล็อคของจริงมาให้เด็ก ๆ ดูเป็นตัวอย่าง พร้อมอธิบายถึงส่วนประกอบของนาฬิกาให้เด็กเข้าใจอย่างคร่าว ๆ

ผู้ปกครองนำนาฬิกาของจริงให้เด็กดู
ผู้ปกครองนำนาฬิกาของจริงให้เด็กดู

2. หลังจากพูดคุยกับเด็ก ๆ ขั้นแรกให้คุณครู ผู้ปกครองปริ้น Pattern ตัวเลข 1-12 และเข็มนาฬิกา ลงบนกระดาษการ์ด A4 (สามารถดาวน์โหลด Pattern ตัวเลขและเข็มนาฬิกา ได้ที่ด้านล่างของบทความค่ะ) จากนั้นให้เด็กระบายสีตัวเลข เข็มนาฬิกาและจานกระดาษตามจินตนาการ

เด็กระบายสีจานกระดาษ
เด็กระบายสีจานกระดาษตามจินตนาการ

3. ให้เด็กพับครึ่งจานกระดาษตามแนวตั้งกดเล็กน้อยให้เกิดรอย แล้วกางจานกระดาษออก จากนั้นให้เด็กพับครึ่งจานกระดาษอีกครั้งตามแนวนอน เมื่อกางออกจะมีรอยพับเหมือนกากบาทอยู่ตรงกลาง ซึ่งเราจะให้รอยพับนี้เป็นจุดศูนย์กลางของนาฬิกาค่ะ

ขั้นตอนการพับจานกระดาษ
ขั้นตอนการพับจานกระดาษ
เด็กและผู้ปกครองข่วยกันพับจานกระดาษ
เด็กและผู้ปกครองข่วยกันพับจานกระดาษ

4. ตัดตัวเลข 1-12 และเข็มนาฬิกาออกมาให้เรียบร้อย (หากเด็กยังใช้กรรไกรไม่คล่อง คุณครู ผู้ปกครองสามารถตัดแทนได้เลยนะคะ) เมื่อตัดเสร็จแล้วนำนาฬิกาของจริงให้เด็กดูเป็นแนวทาง ให้เด็ก ๆ นำตัวเลขมาติดที่หน้าปัดนาฬิกา โดยเริ่มติดเลข 12 ก่อนตามด้วยเลข 3 6 และ 9

แนะนำคุณครู ผู้ปกครองใช้ดินสอทำจุดเล็ก ๆ บนจานกระดาษ ตรงตำแหน่งที่จะให้เด็กติดตัวเลขทั้ง 12 ตัวด้วยนะคะ เพื่อเวลาที่เด็กติดตัวเลขลงไปบนจาน จะได้ไม่เบี้ยวหรือเอียง อีกทั้งเวลานำไปสอนจะได้ใกล้เคียงกับนาฬิกาของจริงที่สุดค่ะ
เด็กและผู้ปกครองช่วยกันตัดกระดาษ
เด็กและผู้ปกครองช่วยกันตัดตัวเลข
เด็กกำลังทากาวที่จานกระดาษ
เด็กกำลังทากาวที่จานกระดาษ

5. เมื่อติดตัวเลข 12 3 6 และ 9 เสร็จแล้ว ให้ติดตัวเลข 1 2 4 5 7 8 10 11 ที่เหลือของนาฬิกาให้ครบ โดยให้เด็กเว้นระยะของตัวเลขเล็กน้อย

เด็กทากาวที่จานกระดาษ เพื่อติดเลข
เด็กทากาวที่จานกระดาษ เพื่อติดเลข 5

6. ใช้ตาไก่แบบตอก เจาะรูที่กึ่งกลางของจานกระดาษ และบนเข็มนาฬิกาทั้ง 2 ชิ้น

คุณครู ผู้ปกครองอาจใช้ดินสอทำจุดเล็ก ๆ บนจานกระดาษ ตรงตำแหน่งที่จะเจาะด้วยก็ได้นะคะ เด็ก ๆ จะได้เจาะง่ายขึ้น
เด็กกำลังเจาะรูตรงกลางของจานกระดาษ
           ด้วยตาไก่แบบตอก
เด็กกำลังเจาะรูตรงกลางของจานกระดาษ ด้วยตาไก่แบบตอก
ผู้ปกครองและเด็กช่วยกันเจาะรูเข็มนาฬิกาด้วยเครื่องเจาะตาไก่
ผู้ปกครองและเด็กช่วยกันเจาะรูเข็มนาฬิกาด้วยเครื่องเจาะตาไก่

7. จากนั้นนำเข็มนาฬิกาทั้ง 2 ชิ้น มาวางบนจานกระดาษ โดยวางให้รูที่เจาะไว้ตรงกัน ใส่หมุดทองเหลืองลงไปตรงรูที่เจาะไว้ พลิกด้านหลังนาฬิกาขึ้นมา และพับขาหมุดทั้ง 2 ข้างให้เรียบร้อย

เด็กกำลังประกอบเข็มนาฬิกาและจานกระดาษเข้าด้วยกัน
เด็กกำลังใส่หมุดทองเหลืองลงไปที่เข็มนาฬิกาและจานกระดาษ
เด็กพับขาหมุดทั้งสองข้าง
เด็กพับขาหมุดทั้งสองข้าง

8. ให้คุณครู ผู้ปกครองนำนาฬิกาอะนาล็อกของจริง มาให้เด็กเปรียบเทียบและสังเกตว่ามีความคล้ายกับนาฬิกาที่เราประดิษฐ์อย่างไร พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ออกไอเดียตกแต่งนาฬิกาตามจินตนาการได้เลยค่ะ

นาฬิกาจากจานกระดาษฝีมือเด็ก
นาฬิกาจากจานกระดาษฝีมือเด็ก
เด็กเปรียบเทียบนาฬิกาของจริงกับนาฬิกาที่ตนเองทำ
เด็กเปรียบเทียบนาฬิกาของจริงกับนาฬิกาที่ตนเองทำ

ทั้งนี้คุณครู ผู้ปกครอง สามารถดาวน์โหลด Pattern สำหรับตกแต่งนาฬิการูปสัตว์ต่าง ๆ มาไว้ให้เด็ก ๆ ใช้ตกแต่งก็ได้นะคะ

ตัวอย่างนาฬิการูปสัตว์ต่าง ๆ
ตัวอย่างนาฬิการูปสัตว์ต่าง ๆ

วิธีการสอน

เมื่อคุณครู ผู้ปกครองให้เด็ก ๆ ประดิษฐ์นาฬิกาจากจานกระดาษของตัวเองเสร็จแล้ว เราจะนำนาฬิกาที่เด็ก ๆ ทำ มาสอนการดูและการอ่านเวลาแบบง่าย ๆ ดังนี้ค่ะ

สอนเรื่องเข็มสั้น-เข็มยาว ให้คุณครู ผู้ปกครองนำนาฬิกาที่เด็กประดิษฐ์เสร็จแล้ว มาถามเด็ก ๆ ว่า เข็มทั้ง 2 บนนาฬิกาที่เด็ก ๆ เห็นมีความแตกต่างกันอย่างไร แล้วเมื่อเด็กสามารถตอบได้ว่าเข็มนาฬิกามีความายาวไม่เท่ากัน ก็ให้คุณครู ผู้ปกครองอธิบายกับเด็กว่า เข็มสั้นจะบอกเวลาเป็นชั่วโมง ส่วนเข็มยาวจะบอกเวลาเป็นนาที จากนั้นให้เด็ก ๆ เขียนคำว่า ชั่วโมง ลงบนเข็มสั้น และเขียนคำว่า นาที ลงบนเข็มยาว (อาจให้เด็ก ๆ เขียนไว้ตั้งแต่ตอนประดิษฐ์นาฬิกาก็ได้นะคะ) เพื่อกันไม่ให้เด็กสับสนในการสอนขั้นต่อ ๆ ไป

เด็กกำลังเขียนคำว่า นาทีและชั่วโมง บนเข็มนาฬิกา
เด็กกำลังเรียนรู้เรื่องเข็มสั้น และเข็มยาว

สอนการบอกเวลาเป็นชั่วโมงจากเข็มสั้น ให้คุณครู ผู้ปกครองใช้เข็มสั้นชี้ไปที่ตัวเลขบนหน้าปัดนาฬิกาที่ละตัว เริ่มตั้งแต่ตัวเลข 6-12 โดยอธิบายกับเด็ก ๆ ว่าช่วงเวลาตอนเช้าที่ฟ้าสว่าง คือ ตั้งแต่ 6.00 นาฬิกา หรือเรียกว่า 6 โมงเช้า (อธิบายเพิ่มเติมว่า เมื่อเวลาลงท้ายด้วย .00 เข็มยาวจะชี้ที่เลข 12 เสมอ) เลื่อนเข็มสั้นไปที่เลข 7 แล้วให้เด็กพูดตาม 7 โมง 8 โมง 9 10 11 เมื่อถึงเลข 12 ให้เด็กบอกว่า เวลา 12.00 นาฬิกา โดยมีเข็มสั้นและเข็มยาวอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน เรียกว่า เที่ยงวัน และเมื่อเข็มสั้นชี้ไปที่เลข 1 คือ เวลาบ่าย เราเรียกว่า บ่ายโมง ชี้ไปที่เลข 2 เรียกว่า บ่ายสอง อธิบายไปเรื่อย ๆ เมื่อถึงเลข 4 เราเรียกว่า 4 โมงเย็น 5 โมงเย็น 6 โมงเย็น ฯลฯ ถ้าเด็ก ๆ เข้าใจในตัวเลขแล้วคุณครู ผู้ปกครองก็อาจจะสอนการเรียกเวลาในตอนกลางคืนให้กับเด็ก ๆ ได้เลยค่ะ

เด็กกำลังดูนาฬิกาจากการกระดาษที่ชี้บอกเวลา 12.00 น.
เด็กเรียนรู้เรื่องการนับเวลาเป็นชั่วโมงจากเข็มสั้น

คุณครู ผู้ปกครองสามารถเชื่อมโยงกิจกรรมของเด็ก ๆ กับเวลาในการดูนาฬิกาเพื่อช่วยให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเวลาของการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ตอนนี้เป็นเวลา 10.00 นาฬิกา ซึ่งจะเป็นเวลาที่เด็ก ๆ ได้รับประทานอาหารว่าง หรือตอนนี้เป็นเวลา 12.00 นาฬิกาแล้ว เด็ก ๆ ก็จะได้รับประทานอาหารเที่ยง เป็นต้น ในการสอนอาจจะให้ได้เรียนรู้เวลาที่เป็นชั่วโมงก่อน เมื่อเด็ก ๆ รู้ว่าตอนนี้เป็นเวลากี่โมงแล้ว อาจจะค่อย ๆ ลงรายละเอียดไปถึงเรื่องการดูเข็มยาวที่บอกเวลาเป็นนาที

เพื่อเป็นการทบทวน คุณครู ผู้ปกครองอาจจะให้เด็กเขียนกิจกรรมลงในสมุดว่าใน 1 สัปดาห์ เด็ก ๆ ทำกิจกรรมอะไรบางในแต่ล่ะวัน และแต่ละกิจกรรมใช้เวลาไปเท่าไหร่ )หรือให้เด็กกำหนดเวลาที่ทำกิจกรรมด้วยตัวเอง) จากนั้นถามเด็กว่า เด็ก ๆ ตื่นนอนไปโรงเรียนกี่โมง แล้วให้เด็กเลื่อนเข็มนาฬิกาตามเวลาที่บอก เด็กก็จะต้องหมุนเข็มสั้นไปที่เลข 6 เข็มยาวชี้ไปเลข 12 เป็นต้น คุณครู ผู้ปกครองอาจจะสลับให้เด็กพูดเวลา แล้วคุณครู ผู้ปกครองคอยเลื่อนเข็มนาฬิกาตามที่เด็กบอกแทน ก็สนุกไปอีกแบบนะคะ

สอนการนับนาทีจากเข็มยาว เราอาจจะอธิบายอย่างง่ายให้เด็ก ๆ เข้าใจว่า ในช่องระหว่างตัวเลขทุกช่องจะมีขีดเล็ก ๆ ช่องละ 5 เส้น โดยให้ครูและผู้ปกครอง นำนาฬิกามาสอนประกอบให้เด็กเห็นภาพจากของจริง ชี้ให้เด็กเห็นและช่วยกันนับว่าแต่ละช่องมีเส้น 5 เส้น เพื่อช่วยให้เด็ก ๆ เข้าใจได้ดีและเห็นเป็นรูปธรรม จากนั้นให้เด็ก ๆ ขีดเป็นเส้น ๆ ในช่องระหว่างเลข 12 กับเลข 1 ใส่ตัวเลข 1-5 เขียนเลข 6-10 ในช่องระหว่างเลข 1 กับเลข 2 ให้เด็กเขียนจนครบรอบตรงช่องว่างตัวเลขของนาฬิกาที่เด็ก ๆ ประดิษฐ์ จะได้ตัวเลขสุดท้ายที่ 60 พอดี

เด็กกำลังขีดเส้นวินาทีลงบนนาฬิกาจานกระดาษ
เด็กกำลังขีดเส้นวินาทีลงบนนาฬิกา

จากนั้นอธิบายและสอนให้เด็ก ๆ นับเพิ่มทีละ 5 โดยให้เด็กหมุนเข็มชั่วโมงชี้ไปที่เลข 7 เข็มนาทีชี้ไปที่เลข 1 จากนั้นให้เด็ก ๆ บอกเวลาพร้อมกับบอกนาที เช่น ตอนนี้เป็นเวลา 7 นาฬิกา 5 นาที จากนั้นเลื่อนเข็มยาวไปที่เลข 2 = 10, 3 = 15, 4 = 20, 5 = 25, 6 = 30 ไปเรื่อย ๆ จนถึงเลข 12 = 60 นาที

สาธิตวิธีการอ่านเข็มชั่วโมงและเข็มนาทีด้วยกัน เมื่อเด็ก ๆ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเข็มชั่วโมงและเข็มนาทีแล้ว คุณครู ผู้ปกครองสามารถ สอนวิธีอ่านเข็มชั่วโมงและเข็มนาทีด้วยกัน เริ่มด้วยเวลาที่เรียบง่ายเช่น 1:30, 2:15, 5:45 เป็นต้น ชี้เข็มชั่วโมงที่ตัวเลขจากนั้นชี้เข็มนาทีที่ตัวเลข จากนั้นบอกว่าเวลาเท่าไร ตัวอย่างเช่นชี้เข็มชั่วโมงที่ 3 และเข็มนาทีที่ 8 เราก็บอกเด็ก ๆ ว่าเวลานี้คือ 3:40 เพราะเข็มชั่วโมงชี้ไปที่ 3 และเข็มนาทีชี้ไปที่ 8 ให้ทำกิจกรรมซ้ำ ๆ เด็ก ๆ ก็จะสนุกและจดจำได้เองโดยอัตโนมัติ

เด็กฝึกอ่านเวลาตามที่ผู้ปกครองสอน
เด็กฝึกอ่านเวลาตามที่ผู้ปกครองสอน

อธิบายการนับที่ไม่ใช่ทีละ 5 นาที เมื่อเด็ก ๆ เข้าใจวิธีดูเข็มยาวนับเพิ่มทีละ 5 นาทีแล้ว จากนั้นให้คุณครู ผู้ปกครองสาธิตการอ่านนาทีที่ไม่ใช่ 5 นาที ยกตัวอย่างเช่น เข็มชั่วโมงชี้ที่เลข 3 เข็มนาทีชี้ไปขีดที่สี่ บอกเด็กว่าเวลานั้นคือเวลา 3:04 สอนและหมุนเปลี่ยนเข็มสั้น-ยาว ไปตามเลขต่าง ๆ ซ้ำ ๆ จนกว่าเด็ก ๆ จะเข้าใจ เมื่อทำกิจกรรมสำเร็จอย่าลืมให้รางวัลเด็ก ๆ ด้วยนะคะสำหรับความตั้งใจ

เด็กเรียนรู้เรื่องการอ่านเวลาอย่างสนุกสนาน
เด็กเรียนรู้เรื่องการอ่านเวลาอย่างสนุกสนาน

การสอนเด็ก ๆ ให้รู้จักเวลา เป็นเรื่องที่มีความท้าทายและความพยายามเป็นอย่างมาก แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถที่ของคุณครู ผู้ปกครองที่จะนำไปสอนเด็ก ๆ เพียงแค่เราหาวิธีที่ดึงดูดความสนใจเด็ก ๆ ในการสอนจะเป็นกิจกรรมหรือจะเป็นงานประดิษฐ์ ศิลปะที่สร้างสรรค์นำมาสอดแทรกลงในบทเรียนเกี่ยวกับเวลาก็จะทำให้การเรียนรู้เกี่ยวกับเวลาเป็นเรื่องง่ายและสนุก ที่สำคัญเมื่อสอนเรื่องเวลาสิ่งที่จะทำให้เด็ก ๆ สามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วและไม่น่าเบื่อคุณครู ผู้ปกครองควรใช้สื่อนาฬิกาที่เป็นของจริงโดยนำมาให้เด็ก ๆ ได้สัมผัสกับสื่อของจริงก็จะสามารถช่วยให้เด็กมีกระบวนการเรียนรู้ได้เร็วมากขึ้นค่ะ

ดาวน์โหลด
2 รายการ